การเข้างาน รายละเอียดที่น่าสนใจจากเรื่องธรรมดา ๆ
ถ้าให้เล่าเรื่องราวของบริษัทที่คุณ ทำงานอยู่ คุณอยากจะเล่าอะไร ให้เราฟังบ้าง?
สายการทำงานที่คุณสังกัดอยู่...
ขนาดขององค์กร...
หรือเรื่องเล็กน้อยที่อาจจะทำเป็นประจำจนชินและมองข้ามไปแล้วใอย่างการตอกบัตรเข้างานเชื่อไหมว่าจากการสำรวจในกลุ่มของคนไทย พบว่า 44.42% ยังต้องมีการตอกบัตรหรือลงเวลาเข้างานให้ตรงเวลาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งอาจมีผลต่อการประเมินคุณภาพในการทำงานของพนักงานหากมีการเข้างานสายบ่อยครั้ง นั่นคือสิ่งที่เราถูกพร่ำสอนเรื่องโลกการทำงานมาตลอดและหลายคนคงทราบดีอยู่แล้ว แต่ตัวเลขที่น่าสนใจกลับเป็นตัวเลข 19.06% หรือคิดเป็นเกือบ 1 ใน 5 ของผู้ที่เข้าร่วมการสำรวจ ที่บอกว่าบริษัทไม่ได้กำหนดเวลาเข้างาน สามารถเข้าทำงานตอนไหนก็ได้ ซึ่งเป็นข้อมูลที่บ่งชี้ได้ว่า บริษัทและองค์กรในไทยให้ความสนใจและโอบรับการทำงานแบบ Flexi-time มากขึ้น
โดยรูปแบบการทำงานแบบ Flexi-time เดิมจะพบเจอได้ในบริษัทจำพวก Tech-Startup เท่านั้นซึ่งผลสำรวจชี้ให้เห็นเพิ่มเติมว่า บริษัทไซซ์กลางไปจนถึงบริษัทเอกชนขนาดใหญ่เริ่มหันมาใช้นโยบายการทำงานแบบที่ให้สิทธิ์พนักงานเลือกการเข้างานได้ด้วยตัวเอง ไม่กำหนดเวลาเข้างานมากขึ้นแม้ว่าตัวเลขที่ออกมาจะไม่ได้แสดงให้เห็นชัดเจนว่ารูปแบบการทำงานแบบ Flexi-time เติบโตขึ้นแบบก้าวกระโดด แต่ก็เห็นถึงการคงอยู่ของการทำงานรูปแบบนี้
จากการศึกษาการทำงานขององค์กรในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา พบว่า Work from Home (WFH) มีข้อดีที่ให้พนักงานมีอิสระในการจัดเวลาและควบคุมคุณภาพการทำงาน ไม่เหนื่อยในการเดินทางเข้าออฟฟิศ เข้าใจว่า WFH เป็นทางเลือกที่ดีในบางกรณี อย่างไรก็ตาม การทำงานที่บ้านในระยะเวลายาวอาจส่งผลเสียต่อพนักงานเอง เนื่องจากพื้นที่ปลอดภัยที่บ้านอาจกลายเป็นสถานที่ทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น
การทำงานในห้องนอน หรือขาดพื้นที่ซัพพอร์ตการทำงานจริงๆ นอกจากนี้
การทำงานที่บ้านยังมีผลต่อสุขภาพทั้งกายและจิตวิญญาณ เช่น การกินข้าวหน้าคอมพิวเตอร์ในเวลาพักเที่ยง
การสูญเสียพื้นที่ส่วนตัวและความต้องการในการสื่อสารกับคนรอบข้าง
การประชุมออนไลน์อาจไม่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เท่าการพบปะในออฟฟิศ
ผลวิจัยยังบ่งชี้ว่าการเข้าทำงานในออฟฟิศส่งเสริมการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์มากกว่าการประชุมออนไลน์ถึง 8 เท่า ดังนั้น เพื่อความมีประสิทธิภาพในการทำงาน ควรมีการสลับระหว่างการทำงานที่บ้าน และที่ออฟฟิศ เพื่อให้พนักงานได้รับประโยชน์ทั้งสองด้าน

จูงใจพนักงานกลับออฟฟิศเป็นหน้าที่ขององค์กร
เมื่อองค์กรอยากจะจูงใจพนักงานให้กลับเข้าออฟฟิศ ‘การเดินทาง’ จึงถูกนำกลับมาเป็นปัจจัยในการพิจารณาในฝั่งของพนักงาน จากผลวิจัยพบว่า เมื่อการเดินทางไปทำงานมีระยะเกินกว่า 10 กิโลเมตรจะบั่นทอนจิตใจของพนักงานและส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง 7-10% เลยทีเดียว ทั้งนี้ยังไม่ได้นำตัวแปรอื่นที่เป็นอุปสรรคเกี่ยวกับการเดินทางมานับรวมด้วย เช่น ผู้คนที่หลั่งไหลกันมาใช้บริการขนส่งสาธารณะในช่วงเช้า พาหนะนานาชนิดบนท้องถนนที่อาจจะยืดระยะทาง 10 กิโลเมตรให้กลายเป็น 20 กิโลเมตรในเชิงอารมณ์และความรู้สึก เท่านี้จะพอเห็นได้ว่าการเดินทางกลับเข้าออฟฟิศไม่ใช่เรื่องเล็กๆ
ดังนั้นเมื่อมีการเดินทางเกิดขึ้นกองค์กรควรจะต้องสนับสนุนและออกแบบสวัสดิการการเดินทาง (Commute Policy) เพื่อให้พนักงานสามารถเดินทางมาออฟฟิศได้อย่างมี ‘ความสุข’ และที่สำคัญคือความเข้าใจความต้องการของพนักงานในระดับชั้นการทำงาน นั้นๆ เช่น เด็กจบใหม่อาจจะต้องการค่าเดินทาง พนักงานชั้นกลางไปจนถึงผู้บริหารอาจจะมองหาที่จอดรถ รวมถึงรูปแบบการทำงานของแต่ละตำแหน่ง ที่องค์กรสามารถออกแบบเวลาเข้างานที่เข้ากับการทำงานของพวกเขาได้ เช่น ฝ่ายบัญชีจำเป็นต้องมาเตรียมความพร้อมเรื่องเอกสาร กำหนดเวลาเข้างานควรจะเป็นช่วงเช้า ในขณะเดียวกัน สายที่ต้องใช้แรงบันดาลใจในการทำงาน อย่างเช่น ครีเอทีฟ ที่ยืดหยุ่นในการทำงานกว่า สามารถเข้าทำงานได้สายกว่าตำแหน่งอื่นสักหน่อย นี่เป็นเพียงตัวอย่างของรูปแบบสวัสดิการการเดินทางที่องค์กรต่างๆ จะต้องค้นหาคำตอบหรือรูปแบบที่ใช่สำหรับองค์กรและบุคลากรของตนเอง เพื่อสร้างพื้นที่การทำงานที่มีความสุขและคงไว้ซึ่งผลประโยชน์ขององค์กรไปพร้อมๆ กันด้วยเช่นกัน
เห็นไหมว่าแค่เรื่องการตอกบัตรเข้างานสามารถเกี่ยวเนื่องมายัง เรื่องสวัสดิการการกลับเข้าออฟฟิศให้กับพนักงานในองค์กรได้ เป็นเรื่องทั่วไปที่น่าสนใจและซับซ้อนกว่าที่หลายคนจะมองเห็นถึงรายละเอียด ภายในภาพที่เรียบง่ายนี้ ดังนั้นเพื่อให้ทุกท่านที่อ่านมาจนจบ Chapter 0 สามารถเห็นภาพรวมของการทำงานในประเทศไทยได้ง่ายยิ่งขึ้นใน อินไซต์คนทำงานยุคใหม่ ฉบับ 2024 by InsideSC ฉบับนี้จึงจะเล่าเรื่องในบทถัดๆ ไปผ่านโครงสร้างที่ย่อยให้ผู้อ่านทุกท่านได้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้นที่เรียกว่า ‘มิติทั้ง 5 ของการใช้ชีวิต’ ที่ทำให้คุณใช้พิจารณาว่า สถานที่แห่งนั้น คือที่ทำงานที่ใช่ของคุณมากน้อยแค่ไหน...
INSIDE SC
หนึ่งในปัญหาที่พนักงานมักสะท้อนมายังบริษัท คือเรื่องที่จอดรถ SC Asset จึงมีสวัสดิการที่จอดรถพร้อมรองรับให้กับพนักงานทุกคนแบบไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมด้วยจุด EV Charger ฟรี เพื่อสนับสนุนการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า
สำหรับพนักงานอีกกลุ่มที่เดินทางด้วยรถสาธารณะ SC Asset ยังร่วมมือกับรถพลังงานไฟฟ้า Muvmi เพื่อรับส่งพนักงานถึงบริษัทอย่างปลอดภัยและใส่ใจสิ่งแวดล้อม